การถวายทาน “สลากย้อม"
ไม่ปรากฏในจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือ มีแต่เพียงจังหวัดลำพูนเท่านั้น
ที่ยังสืบปฏิบัติเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน ส่วนจังหวัดอื่น ๆ จะพบเห็น “ประเพณีทานสลาก”
“ตานก๋วยสลาก” หรือ ”กินก๋วยสลาก” คือการทำบุญถวายเครื่องไทยทานแก่พระภิกษุสงฆ์นับตั้งแต่สมัยพุทธกาล
และนับเป็นประเพณีสำคัญของชาวล้านนาที่ยังคงปฏิบัติสืบต่อเนื่องกันมาจากรุ่นสู่รุ่น
ในการถวายเครื่องไทยทานนั้นจะทำในช่วงฤดูผลไม้สุกหลายชนิด คือในระหว่างเดือน 12
เหนือเพ็ญขึ้นไป และไม่เกินเดือนเกี๋ยงเหนือดับ
และตามประเพณีโบราณมักจะทานที่วัดสำคัญก่อนเช่น ในจังหวัดลำพูนจะต้องทานสลากกภัตรที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารก่อนวัดอื่นในจังหวัด
หรือที่จังหวัดเชียงใหม่จะทานที่วัดเชียงมั่น ซึ่งเป็นวัดแรกของเมืองเชียงใหม่ก่อนวัดอื่น
ส่วนจังหวัดลำปางจะทานที่วัดปงยางคก ซึ่งเป็นวัดต้นตระกูลของเจ้าเจ็ดตน คือเป็นวัดที่หนานทิพย์ช้างศรัทธา
ปัจจุบันนี้ คงมีเพียงจังหวัดลำพูนเท่านั้นที่ยังคงรักษาประเพณีความเชื่อนี้อยู่
เชียงใหม่ และลำปางไม่ได้ยึดถือความเชื่อนี้แล้ว สามารถถวายทานที่วัดไหนก่อนก็ได้ โดยชาวเหนือจะจัดเครื่องไทยทานลงในชะลอมสานด้วยไม้ไผ่ขนาดเล็กๆ
เรียกว่า ก๋วย ในภาษาถิ่น
จากนั้นก็จะนำเส้นสลากที่เขียนชื่อเจ้าของก๋วยไปวางที่วัดเพื่อให้พระภิกษุเสี่ยงจับเส้นสลากขึ้นมา
เมื่อพระรูปใดจับได้เส้นสลากของใครก็จะนำก๋วยไปถวายแด่พระภิกษุรูปนั้น
เชื่อกันว่าการตานก๋วยสลากเป็นการถวายทานที่ได้อานิสงส์มากเพราะเป็นการทำบุญที่ไม่เจาะจงทั้งผู้ให้
และผู้รับ และเป็นกุศโลบายหนึ่งในการสอนให้พุทธศาสนิกชนไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูปสมบัติ
“สลากย้อม” เกิดจากความเชื่อของชาวยองโบราณที่ว่า
“นางสาวผู้ใดถ้ายังไม่ได้ทานสลากย้อม ก็ยังไม่ควรแต่งงาน”
บ้างก็เชื่อว่าหญิงสาวใดไม่ได้ถวายสลากย้อมถ้าแต่งงานไปชีวิตจะไม่เจริญรุ่งเรือง “ฮิบ่มา ค้าบ่ขึ้น” โดยเฉพาะหญิงสาวที่ไม่มีโอกาสได้บวชเรียน
รับใช้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา หรือมีกิจกรรมและบทบาททางสังคมเหมือนผู้ชาย ดังนั้น
การถวายทาน “สลากย้อม” จึงมีนัยของการแบ่งพื้นที่ทางสังคมให้แก่สตรีให้ได้มีบทบาท
และนับเป็นการทำบุญครั้งสำคัญ ซึ่งจักทำได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้น
นอกจากนี้ การถวายทานสลากย้อมจึงเป็นกุศโลบายสอนให้เด็กหญิงชาวยองให้รู้จักการเก็บออม
เรียนรู้การเย็บปักถักร้อย และงานอื่นๆ ในหน้าที่แม่บ้าน
แม่เรือนอย่างสมบูรณ์แบบก่อนที่จะออกเรือนไปอีกด้วย
“สลากย้อม”
เรียกตามสีสันของต้นสลากที่มีหลากสีสัน มีความสูง 10 วาหรือมากกว่านั้น และประดับประดาด้วยข้าวของเครื่องใช้
และของมีค่าต่าง ๆ มากมาย อาทิ อาทิ ตลับใส่พลู หมาก ครกตำหมากทำด้วยเงิน
เข็มขัดเงิน สร้อยคอ สร้อยข้อมือทองคำ โต๊ะเครื่องแป้งครบชุด เครื่องเรือนครบชุด
อัฐบริขาร เครื่องมือจารคัมภีร์ครบชุด ผ้าห่อคัมภีร์ บาตรพระ ผ้าสบง ร่ม รองเท้าแตะ ยารักษาโรค
สมุด ดินสอฯลฯ รวมถึง ผัก ผลไม้ตามฤดูกาล และบุหรี่ทำเป็นแพยาว 3-4 วา นอกจากนี้ยังมีเงินเป็นยอดจตุปัจจัยด้วย
การจัดทำต้นสลากย้อมของหญิงสาวจะใช้ระยะเวลาในการเก็บหอมรอมริบอยู่หลายปี
นอกจากนี้ในการทำสลากย้อมแต่ละต้น ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคี
ความมีน้ำใจของชาวบ้านที่ต่างพร้อมใจกันมาช่วยแต่งดาตระเตรียมต้นสลาก
หรืออีกนัยหนึ่งคือ เป็นการเปิดโอกาสให้ชายหนุ่ม
และหญิงสาวได้มีโอกาสเรียนรู้ศึกษานิสัยใจคอกันในระหว่างการตระเตรียมแต่งดาต้นสลากย้อม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
(ททท.) สสำนักงานเชียงใหม่ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงานบุญ
และสัมผัสประสบการณ์มหัศจรรย์แห่งเมืองไทย “สลากย้อมเมืองหละปูน
เมืองบุญหลวงแห่งล้านนา” ระหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2555 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ภายในงาน
พบกับกิจกรรม การประกวดสลากย้อม การประกวดกะโลง ฮ่ำสลากย้อม
(บทกลอนที่ใช้กล่าวในการถวายสลากย้อม) ขบวนแห่สลากย้อม การแสดงซอพื้นเมือง
การแสดงสื่อผสมเสนอเรื่องราวที่มาของสลากภัตร และสลากย้อมโดยเยาวชนรุ่นใหม่
นิทรรศการภูมิปัญญาชาวบ้านจากศูนย์สายใย และการแสดงทางวัฒนธรรม ประสงค์ร่วมทานสลากย้อม
สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน โทรศัพท์ 0 5351 0243 begin_of_the_skype_highlighting 0 5351 0243 end_of_the_skype_highlighting ทั้งนี้
หลังจากที่มีการถวายสลากย้อมที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารแล้ว
จะมีการถวายสลากย้อม ณ วัดสันริมปิง ตำบลริมปิง วันที่ 13-14 ตุลาคม 2555 วัดอารามใหม่ป่าขาม ตำบลหนองช้างคืน
วันที่ 27-28 ตุลาคม 2555 และวัดชังมงคล
(วังมุย) ตำบลประตูป่า วันที่ 10-11 พฤศจิกายน 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ททท. สำนักงานเชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. โทร. 0
5324 8604, 0 5324 8607 begin_of_the_skype_highlighting 0 5324 8607 end_of_the_skype_highlighting
“Salak
Yom” or an ancient merit making of Yong women who live in Lamphun province is
annually celebrated only in Lamphun in September. This year, the procession is
scheduled on Saturday-Sunday September 29-30, 2012 at Wat Phra That
Hariphunchai, Lampahun from 09.00 a.m. – 10.00 p.m. Salak Yom is only offered
by women due to their belief. It is made by very long bamboo poles, that are
over all decorated with colorful paper, house ware, cloth, food, fruit,
vegetable, eight necessities of a Buddhist monk. In the past, silverware, gold
or diamond is a must to include in Salak Yom. After the first Salak Yom
celebration at Wat Phra That Hariphunchai is done, the other temple follow to
celebrate its fabulous procession respectively; Wat San Rim Ping in October
13-14, 2012, Wat
Aram Mai Pa Kham in October 27-28, 2012 and Wat Chang Mong Kon (Wang
Mui) in November 10-11, 2012. For further information please contact TAT Chiang
Mai at Tel. 66 (0) 5324 8604, 66 (0) 5324
8607 every day from 08.30-16.30 Hrs.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น