วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การปฏิรูปสื่อ มีหรือ ที่สื่อไม่อยากถูกปฏิรูป





ในฐานะผมนั้นคือสื่อเสียงเล็กๆจากภูมิภาค ขอพูดถึง 2 ส่วนที่สำคัญ เรื่องแรกคือการแอบอ้างสื่อ ในภูมิภาคนั้นมีองค์กรสื่ออยู่มากมาย มากกว่าส่วนกลางที่เป็นสื่อหลัก ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ และ โทรทัศน์ ในการแอบอ้างจึงมีน้อยกว่า ภูมิภาค สื่อภูมิภาคนั้นได้รับผลกระทบกับสื่อจริงสื่อปลอม ที่บั่นทอนคุณภาพความเป็นสื่อโดยการหลอกลวงประชาชนและหน่วยงานของรัฐ โดยแอบอ้างเพื่อผลประโยชน์ทั้งสิ้น ซึ่งองค์กรสื่อในภูมิภาคที่ปฏิบัติอย่างถูกต้องได้รับผลกระทบทำให้เกิดการลดทอนของความน่าเชื่อถือ ถูกมองอย่างน่ารังเกียจ และพฤติกรรมแอบอ้างความเป็นสื่อนั้น มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

ในส่วนที่สองผมขอพูดถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของสื่อ(เสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล) ควรถึงเวลาแล้วที่เราต้องมีกฏหมายในการเข้าถึงข้อมูลภาครัฐ ของสื่อในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐนั้นเป็นไปได้ยากมากในการทำงานของสื่อ ในอเมริกานั้นการเข้าถึงข้อมูลเพียงแค่การทำหนังสือไปขอข้อมูลที่อยากทราบ “รัฐจะต้องเปิดเผยข้อมูลในภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ส่งหนังสือเข้าไป” ข้อนี้อยู่ในกฏหมายของประเทศ เพื่อการรับรู้ของประชาชนและสื่อมวลชน การกระทำเช่นนี้จะเป็นการป้องกันการทำทุจริตของภาครัฐ (ผมเชื่อว่าประเทศเรายังทำไมไ่ด้แน่นอน) 

เรื่องต่อไปคือกฏหมายคุ้มครองสื่อ (ไหนบอกว่าพูด 2 ส่วน) ในทุกวันนี้สื่อไม่ว่าส่วนกลางหรือภูมิภาคนั้นถูกคุกคามในรูปแบบต่างๆ เพื่อบันทอนในการนำเสนอข่าว สื่อภูมิภาคนั้นถูกคุกคามมากที่สุดเพราะการนำเสนอข้อมูลต่างๆนั้นเกิดผลกระทบในท้องถิ่นโดยตรง และการคุกคามแบบท้องถิ่นนั้นก็ไม่ต้องพูดถึงทุกท่านคงเข้าใจกันดี   
ต่อไปด้วยเรื่องการตรวจสอบสื่อ (เริ่มยาวแล้วนะ) ในปัจจุบันต้องยอมรับกันเลยว่า สื่อนั้นมีรายได้จากโฆษณาเป็นหลักในการดำเนินงานของสื่อเรียกได้ว่าต้องมีเงิน จึงทำให้ต้องพึ่งพาองค์กรธุรกิจเป็นหลักทำให้มีผู้อุปถัมภ์มากมาย เมื่อสื่อจะต้องการนำเสนอข่าวที่มีผลกระทบต่อผู้อุปถัมภ์รายนั้นจึงทำได้ยากขึ้น นี่ก็คือส่วนหนึ่งในการบันทอนสถาบันสื่อให้มีคุณภาพลดลง ในความคิดควรถึงเวลาแล้ว เวลาที่ทุกท่านเสียภาษี นอกจากจะมีช่องบริจาคให้พรรคการเมืองควรมีช่องบริจาคให้สื่อด้วย (ทำได้หลังจากกฏหมายการเข้าถึงขอข้อมูลของภาครัฐฯผ่าน)



การจัดตั้งองค์กรควบคุมสื่อควรจะต้องให้สื่อควบคุมกันเอง แต่ว่าด้วยภายใต้กฏหมายที่มีระเบียบและมีความเห็นตรงกัน ไม่ถูกคุกคามสิทธิ เสรีภาพของสื่อ การปฏิรูปสื่อนั้นมันต้องเป็นไปได้


ปล.ภาพถ่ายเองที่ อเมริกา 

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทางจักรยาน เชียงใหม่ ไม่ได้เป็นแค่ฝัน ถ้ารัฐฯลงมือจริงจัง




วันนี้ได้มีโอกาสปั่นจักรยาน ไปทดสอบ “เส้นทางจักรยาน เชียงใหม่” เส้นทางจักรยานจาก รัฐบาล ที่หลายคนไม่ชอบนัก แต่นักปั่นชอบ เพราะว่าเป็นรัฐบาลเดียวที่เข้ามาทำให้เส้นทางแห่งฝันนั้นเป็นจริง 






ผมปั่นมาจากตัวเมือง เลยได้เริ่มต้นที่ด้านหน้าศูนย์ประชุมนานาชาติ เชียงใหม่ มุ่งหน้าไปตามเส้นทาง ขึ้นไปทางทิศเหนือ เลนส์จักรยานที่ เห็นจะมี 2 ฝั่งชัดเจน ซ้าย ขวา ซึ่งเส้นทางจากตรงนี้ไปจนถึง ทางออกศูนย์ประชุมนานาชาติ จะเป็นเส้นทางที่คับแคบหน่อย คือปั่นเข้าเลนส์แล้วไม่สามารถจะแซงคันข้างหน้าได้ ต้องตามกันไป เรื่อยๆไปจนถึง



ศาลานั่งพักของ กรมทางหลวง จะมีเลนส์ จักรยานที่คู่ขนานกันไป กับเลนส์ทางขวา ซึ่งนั่นคือเลนส์วิ่งของนักวิ่งจ๊อกกิ้ง ในช่วงนี้จะมีเลนส์ที่กว้างขึ้น ปั่นสบายขึ้น พร้อมกลางคืนมีแสงไฟให้มองเห็นอย่างชัดเจนด้วย แต่ปั่นไปสักพัก





 ก็จะเจอทางแยกเข้าบ้านพัก 700 ปี อีกต้องคอยระวังรถเข้าออก ในช่วงเย็นมีรถเข้าออกเป็นจำนวนมาก ทำให้รู้สึกไม่ค่อยม่วนเลย ปั่นไปอีกสักพัก ก็จะเจอทางแยกเข้า สนามกีฬา 700 ปีอีกแล้ว

พอผ่านช่วงนี้ไปจะสักเกตุเห็นว่ามี คนวิ่งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขาจะอยู่คนละเลนส์กับเราปั้นไปสักพัก ก็เจอเหล่าตอ อีกแล้ว พร้อมกับ ไปชื่นชมการก่อสร้างที่หน้า โรงเรียนนวมินทร์


กับเส้นทางจักรยาน ว่าเฟสต่อไป ที่จะไปถึง ห้วยตึงเฒ่า มันจะเสร็จเมื่อไหร่ เบื้องต้นเราจะได้ปั่นแน่นอน 10 กิโลเมตร แต่เส้นทางไปกลับในเฟสแรกนี้ อยู่ที่ 4 กิโลเมตร 




สำหรับนักปั่นเพื่อสุขภาพ หรือจะเลี่ยงเส้นทางถนนหลักที่เราต้องใช้ร่วมกับรถ ก็นี่คือเส้นทางที่ดี พูดกันง่ายๆ ดีกว่าไม่มี ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย ในแต่ละวันมีนักปั่นหน้าใหม่ พร้อมกับ คนที่รักสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตุได้ดีที่สนามกีฬา 700 ปี คนเพียบ ทั้งมาจูงหมา มาเดิน มาวิ่ง นับวันเยอะขึ้นเรื่อยๆ 

อยากบอกว่าเส้นทางในการปั่นที่น่าสนใจอีกแห่งคือ ศูนย์ประชุมนานาชาติ เชียงใหม่ พื้นที่กว้างไปปั่นแบบชิวๆ เพื่อสุขภาพกันได้ สำหรับนักปั่นขั้นเทพ เชิญเลยๆ ดอยกอม ดอยคำ และดอยสุเทพ ครับสนุกสนานแน่นอน เชื่อไหมหลายคน ที่อยู่ ต่างจังหวัดเขาอิจฉาเรา ที่มีดอยให้ปั่นใกล้เมือง บ้านเขาไม่มีหรอกครับ จะปั่นทีเตรียมตัวกันหลายชั่วโมง เราคิดจะปั่นก็ออกไปได้เลย ทันที ช่วงนี้เข้าฤดูฝนเต็มตัวแล้วนะครับ ยังไงนักปั่นต้องดูอากาศและรักษาสุขภาพนะครับ ด้วยความรักและห่วงใจ จากใจคนปั่นเหมือนกัน

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ เดินทางเคารพศพ 3 นักปั่นพร้อมรับข้อเรียกร้อง 5 ข้อจากกลุ่มจักรยาน

ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเคารพศพนักปั่นพี่น้องของเราทั้ง 3 พร้อมกับได้สอบถามผู้ว่าฯ ราชการจังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบอกว่าเรื่องที่กลุ่มจักรยานเสนอมานั้น ทางจังหวัดได้ทำอยู่แล้ว 4 ข้อ ต่อไปนี้จะต้องเข้มข้นขึ้นไปอีก ลองไปฟังบางช่วงบางตอนที่ ผู้ว่าฯ พูดกับพี่น้องจักรยานที่มายื่นข้อเสนอ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ผมเคยสงสัยว่า ทำไมผู้ว่าท่านนี้จึงให้ความสำคัญกับจักรยานหนักหนา พอสอบถามคนใกล้ชิดของท่าน คือท่านนั้นและภริยาชื่นชอบการปั่นจักรยานอยู่แล้ว ตั้งแต่มารับบทเป็นผู้ว่าเชียงใหม่ ทำให้ท่านไม่ค่อยมีเวลาได้ออกมาปั่น 


และมันก็เป็นอย่างที่ทุกท่านนักปั่นเข้าใจ คนที่เป็นนักปั่นจะเข้าใจนักปั่นด้วยกัน ใครไม่ปั่นไม่รู้หรอก เวลานักปั่นมาขับรถ เมื่อเห็นจักรยานจะระมัดระวังและให้ทางแก่จักรยานเสมอ นี่คือความจริงบนท้องถนน ที่มันอยู่ในหัวใจ ขอชื่นชมผู้ว่าฯ นะครับในหัวใจของท่านมันมีหัวใจนักปั่นอยู่ข้างใน ท่านเลยเข้าใจคนปั่นจักรยาน