วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

มาดูกัน จังหวัดเชียงใหม่ เสนออะไรต่อ คณะรัฐมนตรี

สรุปโครงการสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 2/2558 ณ จังหวัดเชียงใหม่


1.ด้านเศรษฐกิจ
1.1 โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในจังหวัดเชียงใหม่
       ศึกษาและออกแบบระบบขนส่งมวลชนของจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับระบบรถไฟความเร็วสูง (กรุงเทพ–เชียงใหม่) และเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งในภูมิภาค 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน

1.2 โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมและขนส่งในภูมิภาค
       1.2.1 โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ ทางหลวงหมายเลข ๑๒๑ สายสนามกีฬาสมโภช ๗๐๐ ปี-อำเภอแม่ริม (ก่อสร้างทางแนวใหม่เลี่ยงเมือง อ.แม่ริม) กม.๐+๐๐๐-กม.๘+๖๙๒ ระยะทางรวม 10.500 กม. (งบประมาณ 1,500,000,000 บาท)
1.2.2 โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ตอนแยกรินคำ-แยกสาธารณสุข ระยะทาง ๑.๐๕๒ กม. (ก่อสร้างและปรับปรุงผิวจราจรเดิมและรวมปรับปรุงภูมิทัศน์) ระยะทาง 1.314 กม. (งบประมาณ 100,000,000 บาท)
      1.2.3 โครงการก่อสร้างและปรับปรุงถนนภายในกองบิน ๔๑ ถนนศรีวิชัย (ขยายจาก ๒ ช่องเป็น ๔ ช่องจราจร) ระยะทางรวม ๒.๓๒๓ กม. (ถนนศรีวิชัยเดิม) (งบประมาณ 150,000,000 บาท)
      1.2.4 โครงการทางหลวงหมายเลข ๑๐๐๑ ตอน เชียงใหม่ – พร้าว ระยะทาง ๒๖.๕๘๖ กม.(ขยายจาก ๒ ช่องเป็น ๔ ช่องจราจร) กม.๑๓+๐๐๐-กม.๓๔+๑๔๐(๑๐๐๑) กม.๐+๐๐๐-กม.๒+๔๔๖ (๑๔๑๔) (งบประมาณ 800,000,000 บาท)
      1.2.5 โครงการศึกษาและออกแบบทางลอดบริเวณ แยกสนามบิน (เพื่อก่อสร้างทางลอด) (งบประมาณ 100,000,000 บาท)
      1.2.6 โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘ เชียงใหม่-เชียงราย  (ขยายจาก ๒ ช่องเป็น ๔ ช่องจราจร) กม.๒๐+๐๐๐-กม.๕๒+๗๕๐ (งบประมาณ 1,550,000,000 บาท)
     1.2.7 โครงการก่อสร้างและปรับปรุงทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ ตอน อ.ฮอด จ.เชียงใหม่-อ.แม่สะเรียง-อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน (ปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มมาตรฐานทางหลวง) กม.๘๘+๑๐๐-กม.๓๕๓+๕๐๘ เป็นช่วงๆ (งบประมาณ 2,900,000,000 บาท)
1.2.8 โครงการก่อสร้างและปรับปรุงทางหลวงหมายเลข ๑๐๙๕ ตอน บ.แม่มาลัย-อ.ปาย –อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน (ปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มมาตรฐานทางหลวง) กม.๖๔+๕๐๐-กม.๒๐๔+๑๕๐ เป็นช่วงๆ (งบประมาณ 905,000,000 บาท)
      1.2.9 โครงการปรับปรุงเส้นทางยอดดอยปุย-อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 49,750,000 บาท)


               1) ก่อสร้างถนน คสล. เส้นทางยอดดอยปุย-บ้านขุนช่างเคี่ยน หมู่ที่ 4 ตำบลช้างเผือก  อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ขนาดผิวจราจร กว้าง 4เมตร หนา 0.15 เมตร ยาว 3,000เมตร หรือพื้นที่ไม่น้อยกว่า 12,000 ตารางเมตร



     2) ก่อสร้างถนน คสล. เส้นทางหมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน-อ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า หมู่ที่ 4 ตำบลช้างเผือก-ห้วยตึงเฒ่า ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ขนาดผิวจราจร กว้าง 6เมตร หนา 0.15 เมตร ยาว 10 กิโลเมตร หรือพื้นที่ไม่น้อยกว่า 60,000 ตารางเมตร

1.3 โครงการศึกษาวิจัยเพื่อก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่แห่งที่ 2
1.4 โครงการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงการค้าในพื้นที่ชายแดน    (จุดผ่อนปรนหลักแต่ง อ.เวียงแหง และจุดผ่อนปรนกิ่วผาวอก     อ.เชียงดาว)
1.4.1 โครงการก่อสร้างถนนเพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่ง
ในพื้นที่ชายแดน (หลักแต่ง, กิ่วผาวอก)
         1) โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข ๑๑๗๘ แยกทางเลี่ยงเมืองเชียงดาว-กิ่วผาวอก (ปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มมาตรฐานทางหลวงเป็น 7/12) กม.๐+๐๐๐-กม.๕๐+๐๐๐ (งบประมาณ 650,000,000 บาท)
         2) โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข ๑๓๒๒ แยกทางเลี่ยงเมืองเชียงดาว-ด่านหลักแต่ง (ปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มมาตรฐานทางหลวงเป็น 7/12) กม.๐+๐๐๐-กม.๖๗+๗๐๐ (งบประมาณ 800,000,000 บาท)

1.4.2 โครงการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาและการวางแผนผังเมืองเฉพาะเพื่อการพัฒนาพื้นที่ชายแดน (หลักแต่ง,         กิ่วผาวอก, สันต้นดู่)


ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.1 โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า

2.1.1 โครงการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียคลองแม่ข่า
2.1.2 โครงการผันน้ำดีไล่น้ำเสียคลองแม่ข่า
2.1.3 การสำรวจรังวัดแนวเขตคลองแม่ข่า 
2.1.4 การขุดลอกและแก้ไขปัญหาการรุกล้ำลำน้ำ
2.1.5 การสร้างกำแพงกันดินและทางจักรยานริมคลอง    แม่ข่า
2.1.6 การจัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนที่สร้างบ้านเรือนรุกล้ำคลองแม่ข่า 
2.1.7 การปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบนิเวศคลองแม่ข่า

2.2 โครงการบริหารจัดการและพัฒนาแหล่งน้ำ

 2.2.1 โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เหียะน้อย พร้อมระบบ   ส่งน้ำ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรของราษฎรในพื้นที่ และจัดหาแหล่งน้ำสำหรับอุทยานหลวงราชพฤกษ์ และเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (งบประมาณ 186,000,000 ล้านบาท)


 2.2.2 โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยปางหลวง ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาดสันทำนบกว้าง 10 เมตร ยาว 166.5 เมตร สูง 42 เมตร เก็บกักน้ำได้ 2.065 ล้าน ลบ.ม. สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรมได้ 1,200 ไร่ (งบประมาณ 123,275,000 บาท) 


 2.2.3 โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้วยสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบส่งน้ำ จำนวน 11 แห่ง (งบประมาณ 329,871,000 บาท)

           1) โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้านโทกเสือ บ้านดอยหล่อ หมู่ที่ 11 ตำบลดอยหล่อ อำเภอ   ดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 4,601,000 บาท)
            2) โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบส่งน้ำ บ้านสบแปะ 4 บ้านสบแปะ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 25,770,000 บาท)
           3) โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบส่งน้ำบ้านสองแคว บ้านสองแคว หมู่ที่ ๕ ตำบลสองแคว อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 15,860,000 บาท
           4) โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำบ้าน  แม่แอน บ้านแม่แอน หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 16,640,000 บาท)
            5) โครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านป่าบง พร้อมระบบ ส่งน้ำ บ้านป่าบง หมู่ที่ 2 ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่(งบประมาณ 9,000,000 บาท)


3.โครงการสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล

3.1 โครงการส่งเสริมและพัฒนาเส้นทางจักรยานจังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 40,000,000 บาท)

      3.1.1 เส้นทางรอบคูเมืองเชียงใหม่
      3.1.2 เส้นทางภายในเวียงกุมกาม
      3.1.3 เส้นทางพืชสวนโลก-พระธาตุดอยคำ-ไนท์ซาฟารี           
      3.1.4 เส้นทางภายในอ่างเก็บน้ำห้วยตึงเฒ่า

4.ด้านสังคม

4.1 โครงการขยาย ยกฐานะและเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยบริการเพื่อการเข้าถึงบริการของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่
(งบประมาณ 1,158,979,100 บาท)

      4.1.1 โครงการก่อสร้างอาคารรังสีรักษาเพื่อพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูงด้านมะเร็ง โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ  438,918,900 บาท)
      4.1.2 โครงการขยายและเพิ่มศักยภาพด้านอุบัติเหตุ หัวใจและหลอดเลือด ,ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 141,545,000 บาท)
      4.1.3 โครงการยกฐานะโรงพยาบาลชุมชนเป็นโรงพยาบาลทั่วไป อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (ก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและผู้ป่วยผ่าตัด ผู้ป่วยใน 5 ชั้น) (งบประมาณ 130,827,300บาท)  

      4.1.4 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงบริการผู้ป่วยภาวะวิกฤติ จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 96,000,000 บาท)
      4.1.5 โครงการเพิ่มศักยภาพการผ่าตัดในโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย จังหวัดเชียงใหม่ (งบประมาณ 130,000,000 บาท)
      4.1.6 โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ (ก่อสร้างอาคารจ่ายกลาง ซักฟอก โรงอาหาร พัสดุ) (งบประมาณ 28,010,900 บาท)
      4.1.7 โครงการยกฐานะโรงพยาบาลชุมชนเป็นโรงพยาบาลทั่วไป อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ (ก่อสร้างอาคารผู้ใน ๑44 เตียง) (งบประมาณ 98,677,000 บาท)

      4.1.8 โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน ๑๒๐ เตียง+หน่วยแพทย์แผนไทย) (งบประมาณ 95,000,000 บาท)

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บอกให้ฟังดังๆ เรื่องปิดถนนเพื่อ สร้างทางแยกแม่โจ้




เช้านี้ ผมพอจะมีเวลาว่างในการ ปั่นจักรยาน เพื่อออกกำลังกาย พร้อมกับได้รับฟัง วิทยุจราจร ผ่าน FM 105.75 Mhz (เสียงสามยอด) ได้ฟังผู้กำกับ(จร1) และ รองผู้กำกับ(จร2) พูดให้ฟังเรื่อง การจราจร ถนนเชียงใหม่ลำปางขาเข้า ระหว่างแยกศาลเด็กมาสะพานป่าตัน ผ่านหน้าร้านของฝากชื่อดัง วนัสนันท์ และ ปั๊ม ปตท. นั่นคือถนนสายไปแยกข่วงสิงห์ด้านในนั้นเอง ช่วงนี้อยู่ในระหว่างการสร้างถนน ทำให้การจราจร ติดขัด ผมสรุปให้ฟังง่ายๆเลยนะ 

1.ตำรวจจราจร จะปิด .เจริญราษฎร์-ถึงเชิงสะพานป่าตัน และสะพานป่าตันไปแยกแม่โจ้  3 วัน (เบื้องต้น ถ้าไม่เสร็จคงต้องเพิ่มวัน) เพื่อวางท่อและก่อสร้างถนนให้เสร็จ

2.ต่อไปในช่วงก่อสร้างทางลอด แยกแม่โจ้ ท่านผู้สัญจร จากกาดขะจาว จะเข้าเมืองจะเลี้ยวขวา หน้า DSI ไปลอดสะพานจะทำไม่ได้แล้ว เพราะว่าเส้นนั้นจะเป็นวันเวย์ออกไปแยกแม่โจ้

3.เมื่อผู้รับเหมาก่อสร้างทางลอดเสร็จหรือระหว่างการสร้าง เขาจะก่อสร้างสะพานคู่ขนานสะพานป่าตันอีก 2 เส้น คือขาเข้าและขาออก (พี่น้องจะมีสะพานป่าตันที่ใหญ่มากขึ้น) การสัญจรจะสะดวกมากยิ่งขึ้น


มาดูแผนที่กันชัดๆ เรื่องการเคลื่อนตัวของรถ สรุปใต้สะพานป่าตันมุ่งไปแยกแม่โจ้ จะเป็นวันเวย์ครับ




ดูกันชัดๆอีกทีครับผม 




ถนนตรัสวงค์ ซอย หนึ่งจะเป็นเส้นทางวิ่งรถทางเดียวแยกสันกู่เหล็กเข้าทางนี้ไม่ได้นะครับ



จร.2 พูดในรายการวิทยุจราจร บอกว่าผู้รับเหมาจะก่อสร้างทางโดยรอบแยกแม่โจ้ให้เสร็จก่อน แล้วค่อยจะทำทางลอด และ สะพานต่อไป นี่คือนิมิตรหมายที่ดีสำหรับเมืองเชียงใหม่ ที่จะได้มีการก่อสร้างทางเพื่อระบายรถติด แต่ก็ต้องให้ผู้ปรกครองทำใจหน่อยในการไป รับส่ง บุตรหลานในการไปเรียน ย่านนั้น ที่แน่ๆต้องวางแผนในการเดินทางให้ดีครับ พร้อมกับการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด


ขอบคุณ น้องไอซ์ รายการวิทยุจราจร ขอบคุณ จร.1  จร.2  และขอบคุณ จร.07 

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

หลังตัวหนังสือนั้น มีตัวตนของคนเขียนอยู่



ตนทำสื่อสิ่งพิมพ์นั้น มีนิสัยแปลกประหลาดอยู่ ไม่เหมือนใคร คือการใช้ชีวิตอยู่เบื้องหลังตัวหนังสือ ผมก้าวเข้ามาทำงานในแวดวงสื่อได้ไม่นาน (ไม่ได้นับจำไม่ได้ ใครจะว่านานก็นานใครจะว่าน้อยก็น้อย) เห็นหลายท่านที่พยายามจะนำเสนอตนเองออกมาอยู่เบื้องหน้า ซึ่งมันไม่แปลกเลยที่ยุคสมัยเปลี่ยนไป คนทำสื่อสิ่งพิมพ์ ก็อยากจะมาอยู่เบื้องหน้า เพื่อสร้างตัวตนของตัวเองในสังคม 

แต่มีคนบางประเภทที่มักจะซ่อนตัวอยู่หลังตัวหนังสือที่เราอ่านกันอยู่ โดยใช้นามปากกา หรือ สัญลักษณ์บางอย่างแทนตัวตนของผู้เขียน ผมได้มาอยู่ในวงการนี้ เลยเข้าใจว่า มันมีอยู่ 2 ประเภทนี้แหละเข้าใจกันง่ายๆ และผมกลับมองย้อนกลับไปอีกว่า คนที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ตัวหนังสือพวกนี้ กลับมาบทบาทที่ช่วยในการขับเคลื่อน พลักดันสังคมให้น่าอยู่ เป็นปากเสียงของพี่น้องประชาชน เป็นผู้มีอิธิพลอย่างแท้จริง

บทสรุปคือ จงอย่าเชื่อในสิ่งที่เห็นเพราะนั้่นอาจจะเป็นภาพพจน์ที่เขาสร้างตัวตนของเขาขึ้นมา แต่สิ่งที่มองไม่เห็นนั้นน่ากลัวยิ่งกว่า มีบทบาท มีพลังซ่อนอยู่ มีมือที่มองไม่เห็น คอยพลักดันและชักใยอยู่ข้างหลัง  



งั้นมาฟังเพลงนี้ดีกว่า Sam Smith - I'm Not The Only One (Live)





วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปาเวณี เตวขึ้นดอย พระบาทสี่รอยร่วมยิ่งใหญ่ทุกปี






เมื่อค่ำวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายบุญเลิศ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะนำข้าราชการ ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมทำพิธีทางศาสนา เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่ได้สร้างทางขึ้นดอยสุเทพและได้บูรณปฏิสังขรณ์ จนสืบทอดมาถึงปัจจุบัน  ภายในงานจัดให้มี การแสดงก่อนการเปิดพิธีอย่างอลังการที่มีชื่อว่า "วิสาขปูรณมีบูชา เทิดองค์พระศาสดานบเกศไหว้สา องค์พระมหาธาตุเจ้า" ที่มีการแสดงบอกเล่าประวัติความเป็นมาของการอัญเชิญน้ำสรงพระราชทาน ที่มีการแสดงนานกว่า 30 นาที จากนั้นเวลาประมาณ 21.00 .ประธานและแขกผู้มีเกียรติก็ได้พร้อมใจกันทำพิธีเปิดการจัดงานประเพณีไหว้สาป๋าระมี พระบรมธาตุดอยสุเทพ ถวายน้ำสรงพระราชทาน สืบสานประเพณีเตียวขึ้นดอย ประจำปี 2558 อย่างเป็นทางการโดยมีนายสุริยะ  ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้นั่งรถบุษบกเพื่ออัญเชิญน้ำสรงพระราชทานอีกด้วย ท่ามกล่างประชาชนและผู้เข้าร่วมงานหลายหมื่นคน  ก่อนทั้งหมดจะพร้อมใจกันเดินขึ้นไปยังดอยสุเพพ 


ทั้งนี้ในการเดินทางตลอดทั้งเส้นจนถึงที่หมายทางได้มีผู้ใจบุญหน่วยงานรัฐและเอกชน ร่วมทำโรงทานแจกน้ำดื่ม อาหาร และ ยา ให้แก่ผู้ที่ร่วมเดินแสวงบุญในครั้งนี้ รวมถึงเตรียมเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่ตั้งจุดพร้อมให้การช่วยเหลือปฐมพยาบาลผู้ป่วยอีกด้วย และขบวนแห่จะเดินทางถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพในเช้าวันที่ 1 มิ.. ซึ่งถือเป็นวันวิสาขาบูชา และในเวลาประมาณ 06.30 . จะมีพระสงฆ์ จำนวน 225 รูป ออกรับบิณฑบาต และจะมีการถวายน้ำสรงพระราชทานพระบรมธาตุดอยสุเทพ ซึ่งในปีนี้การจัดงานประเพณีเตียวขึ้นดอย เน้นปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่งกายด้วยชุดสีขาว และเป็นประจำทุกๆปีที่ ครูบาพรชัย ปิยวัณโณ แห่งวัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม ได้ร่วมประเพณีเตวขึ้นดอยโดยในทุกปีจะมีศิษยานุศิษย์จากทั่วประเทศกลับมาร่วมงานในครั้งนี้ โดยครูบาจะทำพิธีสวดก่อนที่จะเริ่มเดินเพื่อเป็นมงคลแก่ผู้ร่วมขบวน โดยทุกปีจะมีกลองหลวงหรือกลองขนาดใหญ่ร่วมในขบวนด้วยโดยมีลูกศิษย์และผู้ที่เดินขึ้นดอยร่วมชักลากขึ้นไป ซึ่งเป็นขบวนขนาดใหญ่ ลูกศิษย์หลายร้อยคน ร่วมขบวน 


  สำหรับประเพณีเตียวขึ้นดอยเป็นประเพณีอันดีงามของจังหวัดเชียงใหม่ประชาชนทั้งจังหวัดให้ความสำคัญเข้าร่วมพิธีในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เพราะเชื่อว่าถ้าเข้าร่วมแล้วจะได้บุญมาก โดยตามตำนานเล่าขานกันมาว่า ราวปี .. 1916 พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 6 ได้อัญเชิญพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าขึ้นหลังช้างเผือกมงคล โดยตั้งสัจจาธิษฐานว่าเมื่อช้างได้นำพระบรมธาตุถึงที่ๆ เหมาะสม สำหรับเก็บรักษาพระบรมธาตุนี้ ขอพระธาตุได้แสดงอภินิหารบังคับให้ช้างหยุดตรงนั้นเถิดจากนั้นก็ปล่อยให้ช้างเดินออกไปทางประตูช้างเผือก มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกขึ้นไปทางภูเขา ระหว่างนั้นพระเจ้ากือนา พร้อมด้วยประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธา ก็เดินตามช้างไปตลอด เมื่อช้างเดินขึ้นไปถึงเชิงเขาสุเทพ ได้หยุดและเปล่งเสียงร้อง 3 ครั้ง แล้วเดินขึ้นไปบนยอดเขา เมื่อถึงที่โล่งกว้าง ก็เดินวนซ้าย 3 รอบ และหยุดคุกเข่าหมอบลง พร้อมกับเปล่งเสียงร้องอีก 3 ครั้ง พระเจ้ากือนา จึงได้อัญเชิญพระธาตุลงจากหลังช้าง บรรจุไว้ ที่ตรงนั้น โดยขุดหลุมลึก 8 ศอก กว้าง 1 วา 3 ศอก และได้นำเอาแผ่นหินขนาด 7 ศอก มาทำเป็นหีบ เอาผอบพระธาตุพร้อมด้วย เครื่องราชสักการบูชาจำนวนมากใส่ลงในหีบนั้น ก่อนสร้างพระเจดีย์สูงขนาด 5 วาครอบไว้ เพื่อให้เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนรวมทั้งผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา หลังจากบรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดดอยสุเทพแล้วได้จัดข้าราชบริพาร พร้อมด้วยศรัทธาประชาชนเดินขึ้นไปสักการบูชา ดูแลรักษามาโดยตลอด  กระทั่งพระเจ้ากือนาสวรรคต กษัตริย์ในราชวงศ์มังรายลำดับต่อๆ มาก็ปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาทุกพระองค์ พร้อมทั้งได้บูรณะก่อสร้างศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่างและมีการทำบำนุบำรุ่งวัดแห่งนี้เรื่อยมาหลายยุคหลายสมัย และมีประเพณีเดินขึ้นดอยขึ้นเพื่อให้ประชาชนเดินขึ้นไปสรงน้ำองค์พระธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ (เดือน 8 เป็ง) ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ของทุกปีโดยประเพณีนี้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้วจนถึงปัจจุบัน