เมื่อค่ำวันที่ 31 พ.ค. ที่ผ่านมา นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายบุญเลิศ นายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นำคณะนำข้าราชการ ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนชาวจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมทำพิธีทางศาสนา เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของครูบาเจ้าศรีวิชัย ที่ได้สร้างทางขึ้นดอยสุเทพและได้บูรณปฏิสังขรณ์ จนสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ภายในงานจัดให้มี การแสดงก่อนการเปิดพิธีอย่างอลังการที่มีชื่อว่า "วิสาขปูรณมีบูชา เทิดองค์พระศาสดานบเกศไหว้สา องค์พระมหาธาตุเจ้า" ที่มีการแสดงบอกเล่าประวัติความเป็นมาของการอัญเชิญน้ำสรงพระราชทาน ที่มีการแสดงนานกว่า 30 นาที จากนั้นเวลาประมาณ 21.00 น.ประธานและแขกผู้มีเกียรติก็ได้พร้อมใจกันทำพิธีเปิดการจัดงานประเพณีไหว้สาป๋าระมี พระบรมธาตุดอยสุเทพ ถวายน้ำสรงพระราชทาน สืบสานประเพณีเตียวขึ้นดอย ประจำปี 2558 อย่างเป็นทางการโดยมีนายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้นั่งรถบุษบกเพื่ออัญเชิญน้ำสรงพระราชทานอีกด้วย ท่ามกล่างประชาชนและผู้เข้าร่วมงานหลายหมื่นคน ก่อนทั้งหมดจะพร้อมใจกันเดินขึ้นไปยังดอยสุเพพ
ทั้งนี้ในการเดินทางตลอดทั้งเส้นจนถึงที่หมายทางได้มีผู้ใจบุญหน่วยงานรัฐและเอกชน ร่วมทำโรงทานแจกน้ำดื่ม อาหาร และ ยา ให้แก่ผู้ที่ร่วมเดินแสวงบุญในครั้งนี้ รวมถึงเตรียมเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่ตั้งจุดพร้อมให้การช่วยเหลือปฐมพยาบาลผู้ป่วยอีกด้วย และขบวนแห่จะเดินทางถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพในเช้าวันที่ 1 มิ.ย. ซึ่งถือเป็นวันวิสาขาบูชา และในเวลาประมาณ 06.30 น. จะมีพระสงฆ์ จำนวน 225 รูป ออกรับบิณฑบาต และจะมีการถวายน้ำสรงพระราชทานพระบรมธาตุดอยสุเทพ ซึ่งในปีนี้การจัดงานประเพณีเตียวขึ้นดอย เน้นปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่งกายด้วยชุดสีขาว และเป็นประจำทุกๆปีที่ ครูบาพรชัย ปิยวัณโณ แห่งวัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม ได้ร่วมประเพณีเตวขึ้นดอยโดยในทุกปีจะมีศิษยานุศิษย์จากทั่วประเทศกลับมาร่วมงานในครั้งนี้ โดยครูบาจะทำพิธีสวดก่อนที่จะเริ่มเดินเพื่อเป็นมงคลแก่ผู้ร่วมขบวน โดยทุกปีจะมีกลองหลวงหรือกลองขนาดใหญ่ร่วมในขบวนด้วยโดยมีลูกศิษย์และผู้ที่เดินขึ้นดอยร่วมชักลากขึ้นไป ซึ่งเป็นขบวนขนาดใหญ่ ลูกศิษย์หลายร้อยคน ร่วมขบวน
สำหรับประเพณีเตียวขึ้นดอยเป็นประเพณีอันดีงามของจังหวัดเชียงใหม่ประชาชนทั้งจังหวัดให้ความสำคัญเข้าร่วมพิธีในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เพราะเชื่อว่าถ้าเข้าร่วมแล้วจะได้บุญมาก โดยตามตำนานเล่าขานกันมาว่า ราวปี พ.ศ. 1916 พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ในราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 6 ได้อัญเชิญพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าขึ้นหลังช้างเผือกมงคล โดยตั้งสัจจาธิษฐานว่าเมื่อช้างได้นำพระบรมธาตุถึงที่ๆ เหมาะสม สำหรับเก็บรักษาพระบรมธาตุนี้ ขอพระธาตุได้แสดงอภินิหารบังคับให้ช้างหยุดตรงนั้นเถิดจากนั้นก็ปล่อยให้ช้างเดินออกไปทางประตูช้างเผือก มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกขึ้นไปทางภูเขา ระหว่างนั้นพระเจ้ากือนา พร้อมด้วยประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธา ก็เดินตามช้างไปตลอด เมื่อช้างเดินขึ้นไปถึงเชิงเขาสุเทพ ได้หยุดและเปล่งเสียงร้อง 3 ครั้ง แล้วเดินขึ้นไปบนยอดเขา เมื่อถึงที่โล่งกว้าง ก็เดินวนซ้าย 3 รอบ และหยุดคุกเข่าหมอบลง พร้อมกับเปล่งเสียงร้องอีก 3 ครั้ง พระเจ้ากือนา จึงได้อัญเชิญพระธาตุลงจากหลังช้าง บรรจุไว้ ณ ที่ตรงนั้น โดยขุดหลุมลึก 8 ศอก กว้าง 1 วา 3 ศอก และได้นำเอาแผ่นหินขนาด 7 ศอก มาทำเป็นหีบ เอาผอบพระธาตุพร้อมด้วย เครื่องราชสักการบูชาจำนวนมากใส่ลงในหีบนั้น ก่อนสร้างพระเจดีย์สูงขนาด 5 วาครอบไว้ เพื่อให้เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนรวมทั้งผู้ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา หลังจากบรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดดอยสุเทพแล้วได้จัดข้าราชบริพาร พร้อมด้วยศรัทธาประชาชนเดินขึ้นไปสักการบูชา ดูแลรักษามาโดยตลอด กระทั่งพระเจ้ากือนาสวรรคต กษัตริย์ในราชวงศ์มังรายลำดับต่อๆ มาก็ปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาทุกพระองค์ พร้อมทั้งได้บูรณะก่อสร้างศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่างและมีการทำบำนุบำรุ่งวัดแห่งนี้เรื่อยมาหลายยุคหลายสมัย และมีประเพณีเดินขึ้นดอยขึ้นเพื่อให้ประชาชนเดินขึ้นไปสรงน้ำองค์พระธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ (เดือน 8 เป็ง) ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ของทุกปีโดยประเพณีนี้เริ่มขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้วจนถึงปัจจุบัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น